การใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต, ไม้ไต่คู้ และเครื่องหมายวรรณยุกต์

การใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต
พยัญชนะตัวที่ไม่ออกเสียงในภาษาไทย ให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตกํากับไว้ เช่น
                    Horn             =        ฮอร์น
                    Windsor         =        วินด์เซอร์
คําหรือพยางค์ที่ตัวสะกดมีพยัญชนะตามมาหลายตัว ให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาต ไว้บนพยัญชนะที่ไม่ออกเสียงตัวสุดท้ายแต่เพียงแห่งเดียว เช่น
                    Okhotsk         =        โอค็อตสก์
                    Barents          =        แบเร็นตส์
          คำหรือพยางค์ที่มีพยัญชนะไม่ออกเสียงอยู่หน้าตัวสะกด ที่ยังมีพยัญชนะตามหลังมาอีก ให้ตัดพยัญชนะที่อยู่หน้าตัวสะกดออก และใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตไว้บนพยัญชนะตัวสุดท้าย เช่น
World            =        เวิลด์ 
Quartz           =        ควอตซ์ 
Johns            =        จอนส์ 
First              =        เฟิสต์

ไม้ไต่คู้ควรใช้ในกรณีต่อไปนี้
          เพื่อให้เห็นแตกต่างจากคําไทย เช่น         
Log               =        ล็อก
           เพื่อช่วยให้ผู้อ่านแยกพยางค์ได้ถูกต้อง เช่น
                    Okhotsk         =        โอค็อตสก์

การใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์
การเขียนคําทับศัพท์ไม่ต้องใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ ยกเว้นในกรณีที่คํานั้นมีเสียงซ้ำกับคําไทย จนทําให้เกิดความสับสน อาจใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ได้ เช่น
                    Coke             =        โค้ก

Coma            =        โคม่า

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การเทียบพยัญชนะ

พยัญชนะซ้อน (Double Letter)

คำประสมและคำคุณศัพท์

การเทียบสระในคำทับศัพท์